Main

Mitsui & Co., (Thailand) Ltd.

เกี่ยวกับเรา

ความเป็นมา

มิตซุยในประเทศไทย มรดกของความมุ่งมั่นและความร่วมมือ

มิตซุย ได้สร้างสรรค์และส่งเสริมการพัฒนาในสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยผ่านการพัฒนาระบบโครงสร้างพัฒนาพื้นฐาน การถ่ายโอนเทคโนโลยีและความรู้ และผ่านการลงทุนเชิงกลยุทธ์เราภูมิใจในการมีส่วนร่วมหลายอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และมีความตั้งใจที่จะดำเนินบทบาทนี้ต่อไป

พ.ศ. 2492 ถึง 2510

2492
ไดอิจิ บูซัน ได้ส่งตัวแทนมาประจำที่ประเทศไทย
2494
เปิดสำนักงานผู้แทนของไดอิจิ บูซัน
2498
เปิดสำนักงานสาขาแรก

รูปถ่าย : เปิดสำนักงานผู้แทนของไดอิจิ บูซัน

เปิดสำนักงานผู้แทนของไดอิจิ บูซัน
2502
ก่อตั้ง มิตซุย บูซัน ไคชา (ประเทศไทย) จำกัด และย้ายที่ตั้งไปที่อาคารใหม่ เลขที่ 297 ถนนสุรวงศ์

รูปถ่าย : บริษัทเป็น มิตซุย บูซัน ไคชา (ประเทศไทย) จำกัด อาคารใหม่ เลขที่ 297 ถนนสุรวงศ์.

บริษัทเป็น มิตซุย บูซัน ไคชา (ประเทศไทย) จำกัด อาคารใหม่ เลขที่ 297 ถนนสุรวงศ์.

พ.ศ. 2511 ถึง 2530

2512
เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น มิตซุยแอนด์คัมปะนีย์ (ประเทศไทย) จำกัด
2517
บริษัท มิตรสยามอินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด ถูกก่อตั้ง และย้ายที่ตั้งไปที่ชั้น 6 อาคารบุญมิตรทาวเวอร์

รูปถ่าย : อาคารบุญมิตรทาวเวอร์ ถนนสีลม

อาคารบุญมิตรทาวเวอร์ ถนนสีลม

2531 จนถึงปัจจุบัน

2538
ย้ายที่ตั้งไปที่อาคารใหม่ที่ อาคารสาทร ซิติ้ทาวเวอร์ ถนนสาทร
2549
ครบรอบ 100 ปี ก่อตั้งบริษัท มิตซุย ในประเทศไทย

รูปถ่าย : อาคารสาทร ซิติ้ทาวเวอร์ ถนนสาทร

* ไม่มีการต่ออายุกฎหมายระหว่างมิตซุยในอดีตและมิตซุยและหมายเหตุว่าปัจจุบันไม่มีการต่ออายุกฎหมายระหว่างมิตซุยในอดีตและมิตซุยและบริษัทในปัจจุบัน.

อาคารสาทร ซิติ้ทาวเวอร์ ถนนสาทร

มรดกของเรา - การสำรวจแดนใหม่ในประเทศไทย

พ.ศ. 2449 – 2488 : การสำรวจดินแดนสยาม

รูปถ่าย ของสำนักงานตัวแทนแรกที่ ตรอก ออลเรียนเต็ล รูปถ่าย ของสำนักงานตัวแทนแรกที่ ตรอก ออลเรียนเต็ล

การมีส่วนร่วมกับประเทศไทยในฐานะของ มิตซุย ในอดีตสามารถย้อนกลับได้ถึงปี 2449 บริษัท ได้ทำการจัดตั้งสำนักงานตัวแทนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเถือป็นบริษัทกลุ่มแรกของประเทศญี่ปุ่น ณ สมัยนั้น ประเทศไทยยังมีชื่อว่า สยาม ซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีมรดกทางวัฒนธรรมที่มั่งคั่งและทรัพยากรธรรมชาติมากมาย

มิตซุยรู้สึกถึงศักยภาพที่มีอยู่ในประเทศนี้และได้เริ่มต้นการวางรากฐานและการพัฒนาซึ่งส่งผลกับ ประชาชนชาวสยามในหลายๆ รุ่น

ในช่วงต้นๆ ที่พนักงานของมิตซุยได้เข้ามาในประเทศไทย บริษัทมุ่งเน้นไปที่การค้าไม้สัก ส่งผลให้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการส่งออกไม้สักไปยังตลาดทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การทำงานของพวกเขาไม่จำกัดอยู่ที่อุตสาหกรรมไม้สักเท่านั้น บริษัทได้พยายามเปิดตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ข้าว ฝ้าย ผ้าไหม ผ้าทอ และถ่านหิน ความพยายามเหล่านี้ได้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาและขยายตัว ไปในอุตสาหกรรมที่หลากหลายในประเทศไทย

ในปี 2478 สำนักงานตัวแทนในกรุงเทพฯ ได้รับการส่งเสริมและถูกจัดตั้งให้เป็นสำนักงานสาขาของมิตซุยเดิม พร้อมกับการขยายตัวทางธุรกิจการค้า จำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นมากกว่า่า 100 คน แต่ภายหลังจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลให้ทรัพย์สินของสำนักงานสาขากรุงเทพของมิตซุยเดิม ถูกยึดทั้งหมดและปิดตัวลง